วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

โครงงานถั่วฝักยาว






 

บทคัดย่อ


ชื่อเรื่อง                           การปลูกถั่วฟักยาว
ผู้จัดทำโครงงาน           นางสาวเสาวลักษ์         ปรางศรี
ครูที่ปรึกษาโครงงาน   นางสาวลัดดาวัลย์       ศิริวงษ์
สถานศึกษา                  โรงเรียนกุญชรศิรวิทย์  อำเภอไพรบึง   จังหวัดศรีสะเกษ

      โครงงานการปลูกพืชสวนครัว  การปลูกถั่วฝักยาว   ตามแนวพระราชดำรัส
มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเรื่องเกี่ยวกับเกษตรต่าง ๆ   เพื่อที่จะสามารถนำมาใช้กับชีวิตประจำวันและสอดคล้องกับแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว    มุ้งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤตเพื่อความมั่นคง การดำเนินชีวิตในระบบเศรษฐกิจพอเพียง ให้ยึดความพอดี  กินอยู่ตามฐานะใช้สติปัญญาในการดำรงชีวิตเจริญเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยตั้งบนหลักของความ  “ รู้   รัก   สามัคคี ”   รู้ทันกระแสโลกาภิวัตน์
รักชาติบ้านเมือง เกิดการเรียนรู้ความพอเพียงในสถานศึกษา      โดยมีการศึกษาเกี่ยวกับการปลูกถั่วฝักยาวขึ้น และสร้างรายได้ระหว่างเรียนและสามารถช่วยฝึกความรับผิดชอบ      การตระหนักถึงความพอเพียง พอมี    พอกินกับชีวิตประจำวันในอนาคต










คำนำ

      โครงงานเรื่องการปลูกพืชสวนครัว เป็นโครงงานที่บูรณาการการเรียนรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในสถานศึกษา  โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   เพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนและและครอบครัวที่ไม่มีรายได้   ให้สามารถมีอาหารเลี้ยงท้องและครอบครัวอยู่ได้    อย่างน้อยก็จนกว่าจะมีงานทำมีรายได้   ด้วยการนำแหล่งอาหารเข้าไปในครัวเรือนโดยการปลูกผักสวนครัว    นอกจากนั้นยังมุ่งหวังที่จะกระต้นให้นักเรียน     หันมาสนใจการผลิตอาหารบริโภคในครัวเรือนด้วยตนเอง   เพื่อลดค่าใช้จ่าย  โดยได้เรียนรู้ด้วยวิธีปฏิบัติจริง  สามารถฝึกความอดทนในการทำงาน  การทำงานร่วมกับผู้อื่น และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
              โครงงานเรื่องการปลูกพืชสวนครัว   ผู้จัดทำขอขอบพระคุณผู้บริหารสถานศึกษา คุณครู   ผู้ให้ความรู้และให้คำแนะนำในการจัดทำข้อมูล  การเขียนรายงานและการจัดทำโครงงาน  จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
            ผู้จัดทำโครงงานเรื่องการปลูกพืชสวนครัว ขอขอบคุณท่านที่ให้ความอนุเคราะห์มา  ณ  โอกาสนี้




                                                                                                                         จัดทำโดย
นางสาวเสาวลักษ์        ปรางศรี
1  กันยายน   2555







กิตติกรรมประกาศ

              การทำโครงงานเรื่องการปลูกพืชสวนครัว สำเร็จลุล่วงด้วยการได้รับความช่วยเหลือให้คำปรึกษาจาก  อาจารย์ลัดดาวัลย์      ศิริวงษ์   ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ  ที่ได้ให้ความกรุณาชี้แนะแนวทางและการตรวจสอบการแก้ไขข้อบกพร่องของโครงงานจนสำเร็จด้วยดี ผู้ศึกษาจึงขอกราบพระคุณท่านเป็นอย่างยิ่ง
                ขอขอบคุณนายสมบูรณ์ แก้วกันหา ผู้อำนวยการโรงเรียนกุญชรศิรวิทย์ที่ให้ความอนุเคราะห์ ด้านสถานที่ ตลอดจนการสนับสนุนด้านการทำโครงงานด้วยดีและเสมอมา

















1
บทที่  1
             บทนำ

1.ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
              จากสภาพปัญหาเศรษฐกิจถดถอยมาตั้งแต่ปี   2540    ก่อให้เกิดปัญหาความเดือดร้อนแก่ประชาชนในวัยใช้แรงงานโดยทั่วไปเนื่องจากถูกเลิกจ้างงานจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ    แรงงานเหล่านี้ที่เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมและประสงค์ประกอบอาชีพการเกษตรโดยแนวทางพระราชดำรัสปรัชญา  “เศรษฐกิจพอเพียง    แต่ปัญหาการว่างงานยังคงรุนแรงและขยายผลกระทบออกไปทั้งในสังคมเมืองส่วนกลาง  และสังคมภูมิภาคด้วย   จึงได้ริเริ่มจัดทำโครงการเกษตรยังชีพขึ้นเพื่อช่วยแก้ไขและรองรับปัญหาแรงงานที่ว่างงานจำนวนหนึ่งโดยภาคราชการให้การสนับสนุนปัจจัยการผลิตแก่ประชาชนและคนว่างงานได้ทำการเกษตรยังชีพซึ่งจะช่วยให้มีอาหารไว้เลี้ยงครอบครัวตนเองโดยใช้พื้นที่ตนเองมีอยู่เพียงเล็กน้อยให้เกิดประโยชน์สูงสุดมีการปลูกพืชผักสวนครัวไว้ใช้บริโภคในครัวเรือน
            จากระราชดำรัส  เมื่อวันที่  4  ธันวาคม  2540  ที่ว่า  “....การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ  สำคัญอยู่ที่เราพออยู่  พอกิน  และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมี  พอกิน    แบบพอมี  พอกิน  หมายความว่า  อุ้มชูตัวเองได้  ให้มีพอเพียงกับตัวเอง.....” 
            “เศรษฐกิจของเราขึ้นอยู่กับการเกษตรมาแต่ไหนแต่ไรแล้วรายได้ของประเทศที่ได้มาใช้สร้างความเจริญด้านต่าง ๆ เป็นรายได้จากการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ จึงอาจกล่าวได้ว่าความเจริญของประเทศต้องอาศัยความเจริญของการเกษตรเป็นสำคัญ  และงานทุก ๆ ฝ่ายจะดำเนินก้าวหน้าไปได้ก็เพราะการเกษตรของเราเจริญ”
            พระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก้บัณฑิตใหม่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  เมื่อวันที่  4 กรกฎาคม  2507  พระราชดำรัสและพระราชกรณียกิจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน  พระองค์ได้แสดงให้เห็นว่า เมืองไทยจะน่าอยู่หากพัฒนาประเทศไทยใช้การเกษตรเป็นพื้นฐาน
จากพระราชดำรัสดังกล่าว  ผู้จัดทำได้น้อมนำพระราชดำรัสตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  มาใช้ในโรงเรียนกุญชรศิรวิทย์  องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โดยเล็งเห็นถึงสภาพพื้นที่

2
ที่ว่างจำนวนมาก เช่นพื้นที่หลังอาคารเรียน  จึงได้ปลูกผักสวนครัวใช้ในชีวิตประจำวันและสามารถสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นระหว่างเรียน

1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1.   เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาแนวคิด  แนวปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
2.  เพื่อให้เกิด ความรู้  ความเข้าใจ ทักษะ และการเรียนรู้ การปลูกพืชสวนครัว
      3. เพื่อให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
      4. สร้างรายได้แก่ผู้ปลูกและลดรายจ่ายของครอบครัว

1.3 ขอบเขตการศึกษา
 “การปลูกถั่วฟักยาว”  เป็นโครงงานที่ศึกษาเพื่อนำทรัพยากรที่ใช้พื้นที่ของตนเองมีอยู่เพียงเล็กน้อยให้เกิดประโยชน์สูงสุดมีการปลูกพืชผักสวนครัวไว้ใช้บริโภคในครัวเรือน
1.      ประชากร  ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนกุญชรศิรวิทย์
2.  ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาและมาปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 16  ก.ค. 2555 ถึงวันที่  3 ก.ย. 2555
3.  สถานที่ทำโครงงาน  ดำเนินการปลูกถั่วฟักยาวที่โรงเรียนกุญชรศิรวิทย์

1.4 คำนิยามศัพท์เฉพาะ
      1. โรงเรียน หมายถึง โรงเรียนกุญชรศิรวิทย์   อำเภอไพรบึง  จังหวัดศรีสะเกษ                        องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
      2. นักเรียน หมายถึง นักเรียนที่เรียนอยู่โรงเรียนกุญชรศิรวิทย์ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2554
      3. เกษตร  หมายถึง  ที่ดิน , ทุ่ง , นา , ไร่  เช่น  พุทธเกษตร
      4. พอเพียง  หมายถึง  ได้เท่าที่กะไว้  เช่น  ได้เท่านี้ก็พอแล้ว
      5. พระราชดำรัส  หมายถึง  คำสั่งสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
      3
      6. ศึกษา  หมายถึง  การเล่าเรียน ฝึกฝน , และอบรม
       7.  ค้นคว้า  หมายถึง  ข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา เสาะหาเอามา
      8ถั่วฟักยาว  หมายถึง พืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vigna sesquipedalis Koern. อยู่ในตระกูล Leguminosae เป็นพืชที่มีเถาวัลย์เลื้อย
      9.  ดิน   หมายถึง  วัตถุที่เกิดจากการรวมตัวตามธรรมชาติของเศษหินและแร่ธาตุต่างๆที่สลายตัวเป็นชิ้นเล็กๆกับอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อยผุผังรวมตัวกันเป็นชั้นๆ
     10. น้ำ  หมายถึง  สิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของพืช
     11. แสงแดด  หมายถึง  อิทธิพลของการงอกและการเจริญเติบโตของพืช
     12. ปุ๋ย  หมายถึง  ธาตุอาหารของพืช

1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.สามารถนำหลักเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมี  พอกิน   มาใช้ในชีวิตประจำวัน
      2. เป็นการสนับสนุนการปลูกถั่วฟักยาวตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
      3. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
      4. เพื่อเป็นข้อมุลสำหรับโรงเรียน
      5. สามารถสร้างรายได้ระหว่างเรียน






4
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.1 ความพอเพียงตามแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
สุเมธ ตันติเวชกุล(2542 : 1) ได้บรรยายพิเศษถึงความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยมาตั้งแต่ปี พ.. 2517 และพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.. 2540 (ภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ พ.. 2540) เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในทางการเมืองของไทยแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทสำคัญในการสถาปนาอำนาจนำด้านอุดมการณ์ โดยเฉพาะอุดมการณ์กษัตริย์นิยมในสังคมไทย ในฐานะกษัตริย์นักพัฒนาซึ่งส่งผลต่อการเติบโตของอุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียง สิ่งเหล่านี้ถูกตอกย้ำและผลิตซ้ำโดยสถาบันทางสังคมต่าง ๆ เช่น สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ สื่อมวลชน ส่งผลให้เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ และการพยายามตีความเพื่อสร้างความชอบธรรมในการพัฒนาโดยปัญญาชน ซึ่งเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับอุดมการณ์วัฒนธรรมชุมชน ที่ถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 ก็ได้ช่วยให้อุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียงขยายครอบคลุมส่วนต่าง ๆ ของสังคมได้มากขึ้นโดยลำดับ จนในปัจจุบันได้มีตัวอย่างและงานวิจัยรองรับว่าการดำเนินชีวิตตามแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถช่วยให้สังคมไทยอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูสูงสุดจากองค์การสหประชาชาติว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน มีนักวิชาการ นักเศรษฐศาสตร์ หลายคนเห็นด้วย และเชิดชู แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีของสหประชาชาติ จนทำให้ในที่สุด ได้ถูกนำมาบรรจุเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (..2550-2554) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม 3 ห่วง 2 เงื่อนไขที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
5
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านช่องทางต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันบนเงื่อนไขความรู้และคุณธรรมเงื่อนไข คุณธรรม (ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน แบ่งปัน) เงื่อนไข ความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง)

3 ห่วง ประกอบด้วย  
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น รวมถึงไม่เบียดเบียนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
มีภูมิคุ้มกัน ที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
เงื่อนไข ประกอบด้วย
เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบ ที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

6
เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตไม่โลภ และไม่ตระหนี่
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ได้รับการเชิดชูสูงสุดจากองค์การสหประชาชาติ (UN) โดยนายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล The Human Development Lifetime Achievement Award แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 และได้มีปาฐกถาถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ และสามารถเริ่มได้จากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้าน และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด นาย Hakan Bjorkman รักษาการผู้อำนวยการ UNDP ในประเทศไทยกล่าวเชิดชูปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ UNDP นั้นตระหนักถึงวิสัยทัศน์และแนวคิดในการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โดยที่องค์การสหประชาชาติได้สนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิก 166 ประเทศยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนา ประเทศแบบยั่งยืน

2.2 ลักษณะทั่วไปของถั่วฟักยาว
ถั่วฝักยาว จัดเป็นพืชผักในตระกูลถั่ว ปลูกได้ตลอดปี แต่ปลูกได้ผลที่สุดคือ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤศจิกายน เป็นผักชนิดหนึ่งที่ชาวเอเซียนิยมบริโภคมาก โดยเฉพาะชาวฮ่องกงและสิงคโปร์ นอกจากตลาดเอเซียแล้ว ตลาดต่างประเทศทางยุโรป ซึ่งมีคนเอเซียอพยพเข้าไปอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมันตะวันตก ตลอดจนประเทศทางแถบตะวันออกกลางก็นับว่าเป็นตลาดที่ค่อนข้างจะมีความต้องการสูง จึงนับได้ว่าถั่วฝักยาวเป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่นิยมบริโภคทั้งภายในและนอกประเทศ ถั่วฝักยาว เป็นพืชตระกูลถั่วที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย นอกจากจะใช้ปรุงอาหาร บางชนิดใช้บริโภคสดในชีวิตประจำวันแล้ว ยังใช้เป็นวัตถุดิบในด้านอุตสาหกรรมบรรจุกระป๋องและแช่แข็งด้วยถั่วฝักยาวมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน
และอินเดีย เป็นพืชตระกูลถั่วที่มีลำต้นเป็นเถาเลื้อย การเลื้อยของเถา มีทิศทางการพันทวนเข็มนาฬิกา การปลูกโดยการทำค้างจะทำให้ผลผลิตสูงขึ้นถั่วฝักยาวนอกจากจะเป็นพืชผักที่มีคุณค่าทางอาหารแล้ว การปลูกถั่วฝักยาวจะช่วยปรับปรุงบำรุงดินด้วย เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ระบบรากของพืชตระกูลถั่วจะมีการตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาไว้ในดิน นับว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์หลายอย่าง
7
2.ลักษณะทางพฤกศาสตร์
ชื่อสามัญ : Long bean
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vigna uguiculata (L.) Walp. Cv.gr.sesquipedalis(L.) Verdc.
วงศ์ : PAPILIONEAE
ลักษณะ
ใบ       :  มีลักษณะเป็น 3 แฉก
ดอก
     : อาจเกิดดอกเดียวหรือเป็นช่อ ดอกมีสีขาวหรือสีม่วง
ฝัก     
: จะมีความยยาว 5มิลลิเมตร เมล็ดอ่อนมีสีเขียว เมล็ดแก่อาจมีสีขาว ดำหรือน้ำตาลแดง หรือสีแดงสลับขาว
2.การแบ่งพันธุ์ของถั่วฟักยาว
อาจแบ่งพันธุ์ของถั่วฝักยาว โดยอาศัยแหล่งที่มาและอาศัยสีของเมล็ดคือ
ก.แบ่งตามแหล่งที่มาของพันธุ์
1) พันธุ์ของทางราชการ ได้แก่ พันธุ์ ก 2-1
A (จากกรมวิชาการเกษตร), พันธุ์ มก.8 (จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
2) พันธุ์ของบริษัทเอกชน ได้แก่ พันธุ์
RW 24, พันธุ์สองสี, พันธุ์เขียวดก, พันธุ์กรีนพอท, พันธุ์แอร์โรว์, พันธุ์เอเชียนนิโกร, พันธุ์เกาชุง เป็นต้น
3) พันธุ์พื้นเมือง ได้แก่ พันธุ์พื้นเมืองของท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น พันธุ์ถั่วด้วง (สระบุรี) พันธุ์ดำเนิน (ราชบุรี) พันธุ์พื้นเมือง (ตรัง) พันธุ์พื้นเมือง (หนองคาย) เป็นต้น
ข.แข่งตามลักษณะสีของเมล็ดพันธุ์
1) เมล็ดสีแดง ดอกสีม่วงอ่อนหรือสีม่วง ฝักสีเขียว หรือเขียวเข้ม
2) เมล็ดสีแดงเข้ม ดอกสีม่วง ฝักสีม่วงเข้ม
3) เมล็ดสีขาว ดอกสีครีม ฝักสีเขียวอ่อน

8
4) เมล็ดสีดำ ดอกสีม่วง ฝักสีเขียวเข้ม
5) เมล็ดสีแดงด่างขาว ดอกสีม่วง ฝักสีเขียว
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้พัฒนาพันธุ์ถั่วพุ่ม ซึ่งให้ฝักที่มีลักษณะเช่นเดียวกับถั่วฝักยาว แต่ไม่ต้องใช้ค้าง ทนต่อสภาพแห้งแล้ง ได้แก่ พันธุ์ มข. 25
2.สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
        ดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม ถั่วฝักยาวปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ชอบอากาศค่อนข้างร้อน ช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในระหว่าง 16-24 องศาเซลเซียส สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด แต่ปลูกได้ดีในดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำได้ดี สภาพความเป็นกรดด่าง (
pH) อยู่ระหว่าง 5.5-6.0 และเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดตลอดวัน

2.6 ฤดูปลูก
         ถั่วฝักยาวเป็นผักที่ปลูกได้ทุกฤดูกาลใน เขตร้อน ชอบอากาศค่อนข้างร้อน ฝนไม่ชุก ถ้าอากาศร้อนเกินไปหรือฝนตกชุก จะทำให้ดอกร่วงและฝักร่วง ถ้าอากาศหนาวเกินไปจะชะงักการเจริญเติบโต เนื่องจากระบบรากไม่ทำงาน ดังนั้นถั่วฝักยาวมักให้ผลผลิตในช่วงฤดูแล้งสูงกว่าในฤดูฝน แต่ในช่วงฤดูฝนหากมีการดูแลรักษาที่ดี คุณภาพของฝักที่ได้จะสมบูรณ์กว่าในช่วงฤดูร้อน

2.7 สารอาหาร
         ถั่วฝักยาวมีโปรตีน วิตามินเอ ไทอามีน ไรโบฟลาวิน เหล็ก ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม นอกจากนั้นยังมีวิตามินซี โฟเลต แมกนีเซียม และแมงกานีส ถั่วฝักยาวปริมาณ 100 กรัมมีพลังงาน 47 แคลอรี ไม่มีไขมันและคอเลสเทอรอล โซเดียม 4 mg คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 8 g และโปรตีน 3 g วิตามินเอ 17% DV เหล็ก 2% DV วิตามินซี 31% DV และแคลเซียม 5% DV
 2.ประโยชน์ของถั่วฝักยาว
- ใบ ใช้สดประมาณ 60-100 กรัม ใช้ต้มน้ำกิน เป็นยารักษาโรคหนองในและปัสสาวะเป็นหนอง
9

- เปลือกฝัก ใช้สดประมาณ 100-150 กรัม นำมาต้มกินใช้รักษาภายนอก โดยการตำพอกและเป็นยาระงับอาการปวดบวม ปวดตามเอว และแผลที่เต้านม

- เมล็ด ใช้แห้งหรือใช้สดประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มน้ำกินหรือกินสดจะมีรสชุ่มเป็นยาบำรุงม้ามและไต กระหายน้ำ อาเจียน ปัสสาวะกะปริบกะปรอยและตกขาว

- ราก ใช้สดประมาณ 60-100 กรัม นำมาต้มกับน้ำหรือตุ๋นกับเนื้อกินใช้รักษาภายนอกโดยการตำพอกหรือจะนำมาเผาให้เป็นเถ้า แล้วบดให้เป็นผงละเอียดผสมทาหรือใช้กินเป็นยารักษาโรคหนองในที่มีหนองไหลบำรุงม้าม รักษาบิด บำรุงม้าม ส่วนการใช้รักษาภายนอกโดยการตำพอกนั้นใช้รักษาฝีเนื้อร้ายและช่วยให้เนื้อเจริญเร็วขึ้น

2.การเตรียมดิน
1. การเตรียมดิน
       การเตรียมดิน ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่มีระบบรากละเอียดอ่อน การเตรียมดินที่ดีจะช่วยให้การเจริญเติบโตสมบูรณ์และสม่ำเสมอ ขั้นตอนแรกให้ไถพรวนความลึกประมาณ 6-8 นิ้ว ตากดินทิ้งไว้ 5-7วัน เพื่อทำลายไข่แมลง และศัตรูพืชบางชนิด เก็บเศษวัชพืชออกจากแปลงให้หมด จากนั้นจึงไถคราด ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้ว เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น การยกร่องสำหรับถั่วฝักยาวนั้น ปกติจะยกร่องกว้างประมาณ 1-1.2 เมตร โดยให้ความยาวเหมาะสมกับสภาพแปลง และเตรียมร่องระหว่างแปลงสำหรับเข้าไปปฏิบัติงาน กว้างประมาณ 0.5-0.8 เมตร ในสภาพพื้นที่ ที่ไม่เคยมีการวิเคราะห์ดินมาก่อน ควรเก็บตัวอย่างดินเพื่อนำไปวิเคราะห์เคมี เพื่อให้ทราบถึงความจำเป็นและได้ข้อมูลในการปรับปรุงบำรุงดินให้เหมาะสมต่อไป

2. การเตรียมหลุมปลูก
      ให้ใช้จอบขุดหลุมให้ระยะระหว่างแถวห่างกัน 0.8 เมตร ระยะระหว่างหลุม 0.5 เมตรโดยให้หลุมลึกประมาณ 4-6 นิ้ว ใช้ปุ๋ยเคมีสูตรที่เหมาะสมกับถั่วฝักยาว เช่น 15-15-15,13-13-21,12-24-

  10
      12, 5-10-5 หรือ 6-12-12 ใส่หลุมละ 1/2 ช้อนแกง (10-15 กรัม) คลุกเคล้าให้เข้ากัน
     3.การปลูกโดยหยอดเมล็ด
      หลุมละ 4 เมล็ด แล้วกลบดินให้ลึกประมาณ 5 เซนติเมตร แล้วจึงรดน้ำทันที สำหรับการให้น้ำระยะ 1-7 วัน ควรให้น้ำทุกวัน ๆ ละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ให้พิจารณาสภาพภูมิอากาศ และสภาพดินด้วย
4.  การถอนแยก
     หลังจากหยอดเมล็ดแล้วประมาณ 5-7 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก เมื่อมีใบจริงประมาณ 4 ใบ ให้ถอนแยกเหลือต้นแข็งแรงไว้ 2 ต้นต่อหลุม ขณะที่ถอนแยกให้พรวนดินและกำจัดวัชพืช เพื่อไม่ให้วัชพืชมาแย่งน้ำ และอาหารจากถั่วฝักยาว
    2.การดูแลรักษา
            ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ต้องการการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด การดูแลรักษาที่ดีจะมีผลต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิตอย่างมาก ขั้นตอนต่าง ๆ ของการดูแลรักษานั้นมีดังนี้
     1.  การให้น้ำ
      ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรแฉะเกินไป ระยะเจริญเติบโตหลังจากถอนแยกแล้วควรให้น้ำทุก 3-5 วันต่อครั้ง ให้ตรวจสอบความชื้นในดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโต ระบบการให้น้ำอาจใช้วิธีการใส่น้ำเข้าตามร่อง หรืออาจจะใช้วิธีการตักรดโดยตรง ขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำที่มี สภาพพื้นที่ปลูกและความชำนาญของผู้ปลูก
     2.  การปักค้าง
     ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ต้องอาศัยค้างเพื่อเกาะพยุงลำต้นให้เจริญเติบโต ไม้ที่ใช้สำหรับทำไม้ค้างนั้นใช้ไม้ไผ่ หรือไม้อื่น ๆ ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น โดยความยาวของไม้มีความยาวประมาณ 2.5-3 เมตร หรืออาจจะสร้างโครงเสาแล้วใช้ลวดขึงด้านบน และใช้เชือกห้อยลงมายังลำต้นถั่วฝักยาวให้เลื้อยขึ้น ระยะเวลาการใส่ค้างถั่วฝักยาวนั้นจะเริ่มใส่หลังจากงอกแล้ว 15-20 วัน โดยจับต้นถั่วฝักยาวให้พันเลื้อยขึ้นค้างในลักษณะ ทวนเข็มนาฬิกา วิธีการปักค้างทำได้หลายวิธี เช่น



11
2.1 ปักไม้ค้างหลุมละ 1 ค้างโดยให้ตั้งฉากกับผิวดิน
2.2 ปักไม้ค้างหลุมละ 1 ค้าง โดยให้เอียงเข้าหาร่องเป็นคู่และมัดปลายเข้าด้วยกันใช้ไม้ไผ่พาดยึดค้างด้านบนให้แข็งแรง
2.3 ปักไม้ค้างหลุมละ 1 ค้าง โดยให้เอียงเข้าหากันกลางร่องเป็นคู่ แล้วมัดปลายเช่นเดียวกับ ข้อ 2.2 แต่ใช้ไม้ค้ำยันแต่ละคู่เป็นแบบกระโจม
2.4 การใช้เชือกแทนค้าง พบว่าในแหล่งที่หาค้างยาก ผู้ปลูกพยายามใช้เชือกแทนค้าง ซึ่งมีความเป็นไปได้สูง ดังนั้นการปลูกถั่วฝักยาวควรมีการทดสอบการใช้เชือกแทนค้างเพื่อหาข้อมูลสำหรับการลดต้นทุนการผลิตต่อไป
3.   การใส่ปุ๋ย
ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ต้องการธาตุฟอสฟอรัสสูงในการสร้างดอก ในทางวิชาการแนะนำให้ใช้ปุ๋ยอัตราส่วนของไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P2O5) และโปรแตสเซียม (K2O) คือ 1:1.5-2:1 ปุ๋ยสูตรดังกล่าวไม่มีจำหน่ายในท้องถิ่น อาจใช้สูตร 15-15-15 ซึ่งใช้ในสภาพดินที่เป็นดินเหนียว หรือสูตร 13-13-21 ในสภาพดินที่เป็นดินทราย สำหรับการใส่นั้นควรแบ่งใส่ดังนี้คือ
ก. ใส่ขณะที่เตรียมหลุมปลูกตามที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น
ข. ใส่เมื่อต้นถั่วอายุประมาณ 15 วัน โดยการพรวนดินแล้วโรยปุ๋ยรอบ ๆ ต้นให้ห่างจากโคนต้นประมาณ 10 เซนติเมตร ในอัตรา 1 ช้อนแกง (25-30 กรัม) ต่อหลุม แล้วใช้ดินกลบ เพื่อป้องกันไม่ให้ปุ๋ยสูญเสียไป การใส่ปุ๋ยร่วมกับปุ๋ยคอกในระยะนี้
จะทำให้การใช้ปุ๋ยเคมีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ค. ใส่เมื่อเก็บผลครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 55 วัน โดยใส่ปุ๋ยประมาณ 2 ช้อนแกงต่อต้น และหลังจากนั้นให้ใส่ปุ๋ยทุก ๆ 7-10 วัน การใส่ปุ๋ยระหว่างช่วงเก็บเกี่ยวอย่างสม่ำเสมอ และปริมาณพอจะทำให้เก็บถั่วฝักยาวได้นาน โดยผลผลิตมีคุณภาพดี และปริมาณผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น
4.  การกำจัดวัชพืช
หลังจากถั่วฝักยาวงอกแล้ว ต้องคอยดูแลวัชพืชในแปลงปลูก โดยทั่วไปแล้วจะกำจัดวัชพืช หลังจากเมล็ดงอกแล้วประมาณ 10-15 วัน หรือก่อนที่จะปักค้างหลังจากนั้นจึงคอยสังเกตจำนวนวัชพืชในแปลง หากพบวัชพืชควรกำจัด และเมื่อต้นถั่วเจริญเติบโตคลุมแปลงแล้วจะทำให้การแข่งขันของวัชพืชลดลง ในการกำจัดวัชพืชในระยะที่ถั่วฝักยาวเริ่มออกดอกนั้น ต้อง

12
เพิ่มควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากการกำจัดวัชพืชอาจกระทบกระเทือนรากอันเป็นสาเหตุให้ดอกร่วงได้






13
บทที่  3
วัสดุอุปกรณ์และวิธีการดำเนินงาน

3.1  วิธีดำเนินงาน
หลักการวางแผน
1.  ประชุมนักเรียนสำรวจและวิเคราะห์พื้นที่ว่างของโรงเรียน
2.  วางแผนการเตรียมดิน
3.  คัดเลือกพันธุ์ถั่วฟักยาว
4.  ปฏิบัติตามแผน
5.  ประเมินผลงาน
      6.   เผยแพร่ผลงาน
3.2 วัสดุอุปกรณ์
1.      จอบ
2.      เสียม
3.      ปุ๋ย
4.      บัวรดน้ำ
5.      คราด
6.      ไม้ยาวเพื่อใช้เป็นที่เลื่อยของถั่วฟักยาว
7.      เชือก

3.3 ขั้นตอนวิธีการปลูกถั่วฟักยาว
1.      เลือกขนาดของพื้นที่
2.      สังเกตลักษณะของดิน
3.   กำจัดวัชพืชบนพื้นที่ที่เลือก เช่น ก้อนหิน  กรวด  กิ่งไม้  ขยะ ถุงพลาสติก  เป็นต้น ออกจากบริเวณแปลงให้หมด
4.   ใช้จอบขุดและพลิกดินชั้นบนลงชั้นล่าง  ตากดินไว้ 2-3  วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคและทำลายแมลงศัตรูพืชที่อาศัยอยู่ในดิน
5.   ย่อยดินให้ละเอียดและเก็บเศษวัชพืชออกอีกครั้ง   จากนั้นนำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์   ทรายหยาบ  ผสมกับดินให้เข้ากัน  แล้วเกลี่ยหน้าดินให้เรียบ
6.      ขนาดของแปลงเพาะควรกว้างประมาณ 1 เมตร
7.      เตรียมพันธุ์พืชของถั่วฟักยาว
8.      ปลูกเมล็ดที่เตรียมไว้
9.      รดน้ำ
10.  นำไม้ยาวมาขุดทำเป็นที่เลื้อยของต้นถั่วฟักยาวเวลาที่เจริญเติบโต
11.  ดูแลและรักษารดน้ำทุกวัน  ใส่ปุ๋ย  กำจัดวัชพืช





15
บทที่  4
ผลการศึกษา
               จากการศึกษาโครงงานเรื่อง การปลกพืชสวนครัวโดยปลูกถั่วฟักยาว     ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาทำให้ทราบการใช้พื้นที่ตนเองมีอยู่เพียงเล็กน้อยให้เกิดประโยชน์สูงสุดมีการปลูกพืชผักสวนครัวไว้ใช้บริโภคในครัวเรือนและยังได้สนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์มีพระราชดำริให้ประชาชนคนไทย ยืนหยัดอยู่บนความพอเพียงและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ความรู้ที่ได้รับจากการทำโครงงานนี้สามารถนำมาประกอบอาชีพสร้างรายได้ระหว่างเรียนให้กับตนเองและครอบครัวได้เป็นอย่างดี


16
บทที่  5
ผลการศึกษา
สรุปผลการจัดทำโครงงาน
          การปลูกพืชถั่วฟักยาว สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเอง ทำให้ตนเองสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยการนำไปจำหน่ายสร้างรายได้ระหว่างเรียน ได้สนองแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทำให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

ข้อเสนอแนะ
1.ในการทำการปลูกพืชที่โรงเรียนควรใช้พื้นที่ให้เยอะและคุ้มค่ามากกว่านี้
2.ในการทำโครงงานครั้งต่อไปควรมีการปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงปลาดุกทำเป็นบ่อเล็กๆ





                                                                                                                                                         17
บรรณานุกรม

ไพทูรย์    ศิริรักษ์.100 ประโยชน์ตาลโตนดไทยผลผลิตวัฒนธรรมชุมชนบนคาบสมุทรสทิงพระ
ป.อังกาพย์ละออง,2551
สุเมธ ตันติเวชกุลเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริบรรยายพิเศษ, 2542
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. “ทฤษฎีใหม่: มิติที่ยิ่งใหญ่ทางความคิดในเอกสารประกอบการสัมมนาโครงการปราชญ์เพื่อแผ่นดิน : ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ. อินเทอร์เน็ต .WWW.Google.Com.















18

















  


























 

































 





คำอธิบาย: http://www.panyathai.or.th/wiki/images/Tttttt_7.jpg